เครื่องดนตรีประเภทดีด
เครื่องดนตรีประเภทดีดจะมีสาย
ตั้งแต่สายเดียวจนถึง 7 สาย
เกิดเสียงได้โดยการดีดด้วยมือข้างหนึ่ง และมืออีกข้างหนึ่งกดสายตามเสียงที่ต้องการ
ลักษณะของเครื่องดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระพุ้ง บางทีก็เรียกว่า
“กะโหลก" เพื่อสำหรับทำให้เสียงที่ดีดดังก้องกังวาน มีคันทวน
ลูกบิด สะพานหนู หรือนม เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเสียง
แต่เดิมเครื่องดนตรีที่มีสายใช้ดีด เราเรียกตามบาลีและ สันสฤกว่า “ พีณ “ ต่อมาบัญญัติชื่อเรียกใหม่ตามรูปร่าง
ตามวัสดุ หรือตามภาษาของชาตินั้นๆ เช่น กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะ และจะเข้
เป็นต้น
พิณน้ำเต้า
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่มีสายเดียวชนิดนี้เข้าใจว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายอยู่ในดินแดนแหลมอินโดจีก่อนแล้วขอมโบราณหรือเขมรรับช่วงไว้ก่อนที่ชาวไทยจะอพยพลงมาถึงที่เรียกพิณน้ำเต้าก็เพราะนำผลเปลือกน้ำเต้ามาทำเป็นกระพุ้ง
ส่วนประกอบของพิณน้ำเต้ามีดังนี้
1. กะโหลก
ทำด้วยผลเปลือกน้ำเต้า ตัดครึ่งลูก โดยเอาจุกหรือทางขั้วไว้
เจาะตรึงติดกับไม้คันพิณ ซึ่งเรียกว่า “คันทวน“
2. คันทวน
ทำด้วยไม้ เหลาให้มีลักษณะกลมเรียวยาว หัวใหญ่ปลายโค้งงอ ยอดสุดกลึงเป็นรูป
3. เม็ด
สำหรับผูกสาย ส่วนตอนหัวกลึงเป็นรูปเม็ด แต่ใหญ่กว่าตอนยอด เพื่อสวยงาม
4. ลูกบิดทำด้วยไม้กลมเรียวเล็กตอนหัวกลึงเป็นเม็ดประกอบลูกแก้วตอนปลายเรียวเล็ก
เพื่อสอดใส่เข้าไปในคันทวน และให้ปลายโผล่เพื่อพันผูกสาย
5.รักดอกทำด้วยเชือกสำหรับโยงมัดสายกับคนทวนเหนือขั้วผลน้ำเต้าสูงพอประมาณเพื่อให้สายตึงได้เสียงที่ไพเราะสาย
แต่เดิมใช้เส้นหวาย ต่อมาใช้สายไหม ปัจจุบันใช้สายทองเหลือง
โดยพันผูกจากปลายลูกบิดไปยังปลายคันทวนที่โค้งงอ
อ้างอิง เครื่องดนตรีประเภทดีด.มปป. เครื่องดนตรีประเภทดีด(ออนไลน์) สืบค้นจาก: www.dusit.ac.th/department/music/music/thai/did.pdf [20 พฤศจิกายน 2556 ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น