วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ
ซึ่งซอมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกันคือ 1. ซอด้วง 2. ซอสามสาย 3. ซออู้
1.สะล้อ
สะล้อ หรือซอล้อ หรือที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่า "ทรอ" หรือ"กร้อ" นั้น มีส่วนประกอบที่
ไม่สับซ้อน มีสาย 2หรือ3 สาย เป็นตัวกำเนิดเสียง และมีตัวกำธรทำด้วยมะพร้าว ส่วนประกอบอื่นๆ
ได้แก่ ด้าม หรือ คัน หลักสาย(ลูกบิด) และก๊อบ (หย่อง)
ด้ามสะล้อที่ดีตามทัศนะของของนักดนตรีและสล่า ควรเป็นไม้เนื้อแข็งจำพวกชิงชัน ไม้ประดู่
หรือไม้มะเกลือ แต่ไม้เหล่านี้ หายากและมีราคาสูงสล่าจึงใช้ไม้อย่างอื่น เช่น ไม้สัก ไม้ขนุน ไม้แดง
หรือไม้ยางทำ โดยทั่ว ๆไปด้ามมักมีลักษณะกลม ด้านที่มีลูกบิดมีขนาดโตกว่าด้านที่เสียบทะลุกะลา
มะพร้าว ยอดเหนือลูกบิดขึ้นไปสามารถกลึงเป็นหัวบัว หรือ สลักเป็นรูปต่างๆตามความประสงค์ได้
กะลามะพร้าวที่ใช้ทำกล่องกำธรเสียงนั้น จะตัดออกไม่เกิน 1/3 ของกะลาทั้งลูก ปิดที่เหลือด้วยแผ่นไม้
บางๆเรียงว่า "ตาด" ด้านหลังเจาะรูเสียง ซึ่งอาจเป็นรูลักษณะต่างๆ หรือมีลวดลายแกะสลักประกอบ
ด้วยกะลามะพร้าวนี้จะขูดให้บางและขัดให้ เรียบก่อนประกอบกับด้าม
สายสล้อในปัจจุปัน พบว่าทำด้วยสายกีต้าเป็นส่วนมาก นอกนั้นทำด้วยสายห้ามล้อรถ
จักรยานและสายไวโอลีน
ก๊อบ หรือ หย่อง ซึ่งวางรับสายอยู่บนตาดสล้อนั้น จะค่อนขึ้นมาทางขอบลน
ทั้งนี้เพื่อให้ตำแหน่งที่คันชักสัมผัสสายสล้อ อยู่ไม่ห่างเกินไปอันจะทำให้เสียงไม่มีพลังกังวาน
คันชักสล้อ มักทำด้วยไม้ไผ่เหลากับสายไนลอน ในอดีตนิยมใช้สายหางม้า แต่ปัจจุบันขนหางม้า
หายาก สล่าจึงใช้สายไนลอนแทนโดยมียางไม้จำพวกชัน เหนือยางสนใช้ถูสายคันชักให้มีความฝืด
การเล่น สะล้อ
2.  ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก



อ้างอิง  เครื่องดนตรีประเภทสี.มปป. เครื่องดนตรีไทยประเภทสี(ออนไลน์)  สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/psthaimusic/kheruxng-ti-1 [20 พฤศจิกายน 2556 ]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น