เครื่องดนตรีไทยประเภทตี
เครื่องตี เสียงดังออกมาและการกระทบกันมีด้วยกันหลายวิธีเช่นใช้มือตี ได้แก่ กลองแขก ตะโพนไทย ตัวเองกระทบกัน ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ ใช้ไม้ที่ทำเฉพาะตี ได้แก่ฆ้องวง โหม่ง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม ใช้การกระแทก ได้แก่ อังกะลุง
เครื่องตีแยกได้เป็น 3 ประเภทตามหน้าที่ในการเล่นคือ
1. เครื่องตีที่ทำจังหวะ หมายถึงเครื่องตีที่เมื่อตีแล้วจะเป็นเสียงที่คุมจังหวะการเล่นของเพลงนั้นๆ
ตลอดทั้งเพลงซึ่ง
ได้แก่ ฉิ่ง และ ฉับ ถือเป็นหัวใจของการบรรเลงด้วยเหตุที่ว่าเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะต้องยึดถือเอา
จังหวะเสียงของฉิ่งเป็นหลักในการเล่นเพื่อความพร้อมเพรียง
2. เครื่องตีที่ประกอบจังหวะ หมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะของฉิ่งและทำนอง
เพลงเพื่อให้เกิดความไพเราะสนุกสนานได้อรรถรสของบทเพลงมากขึ้นซึ่งก็มีหลายอย่างเช่น
กลองแขก กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เปิงมางคอก
กลองตุ๊ก ฯลฯ โดยเครื่องตีในแต่ละชิ้นนี้จะมีท่าทางการเล่นที่แตกต่างกันและเสียงก็แตกต่างกัน
3. เครื่องตีที่ทำให้เกิดทำนอง หมายถึงเครื่องตีที่ใช้ตีแล้วเสียงที่ดังออกมาเป็นทำนองเพลงโดย
ตรงซึ่งก็ได้แก่ ฆ้องไทยวงใหญ่ ฆ้องไทยวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม ขิม อังกะลุง(บรรเลงเป็นวง)
อ้างอิง เครื่องดนตรีประเภทตี.มปป. เครื่องดนตรีไทยประเภทตี(ออนไลน์) สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/psthaimusic/kheruxng-si. [20 พฤศจิกายน 2556 ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น