วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทเป่า
เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่ ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าขลุ่ยขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ และขลุ่ยอู้ ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้
- เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย มักนิยมประดิษฐ์ลวดลายต่าง ๆ ลงบนตัวขลุ่ย เช่น ลายดอกพิกุล ลายหิน และลายลูกระนาด เป็นต้น - ดาก คือ ไม้อุดปากขลุ่ย นิยมใช้ในไม้สักทอง เหลากลมให้คับแน่นกับร่องภายในของปากขลุ่ย ฝานให้เป็นช่องว่าง ลาดเอียงตลอดชิ้นดาก ให้เป่าลมผ่านไปได้
- รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป

- รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่ด้านเดียวกับรูเป่า อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย - รูเยื่อ เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ
- รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง และประคองเลาขลุ่ยขณะเป่า อยู่ด้านล่างเลาขลุ่ย ต่อจากรูปากนกแก้วไปทางปลายเลาขลุ่ย
- รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน
- รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุบน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ เสียงขลุ่ยเกิดจากเป่าลม และใช้นิ้วมือปิดเปิดรูบังคับเสียง



 อ้างอิง เครื่องดนตรีประเภทเป่า.มปป. เครื่องดนตรีประเภทเป่า(ออนไลน์)  สืบค้นจาก: http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/pao.htm [20 พฤศจิกายน2556]

เครื่องดนตรีประเภทดีด

เครื่องดนตรีประเภทดีด
เครื่องดนตรีประเภทดีดจะมีสาย ตั้งแต่สายเดียวจนถึง 7 สาย เกิดเสียงได้โดยการดีดด้วยมือข้างหนึ่ง และมืออีกข้างหนึ่งกดสายตามเสียงที่ต้องการ ลักษณะของเครื่องดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระพุ้ง บางทีก็เรียกว่า
กะโหลก" เพื่อสำหรับทำให้เสียงที่ดีดดังก้องกังวาน มีคันทวน ลูกบิด สะพานหนู หรือนม เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเสียง แต่เดิมเครื่องดนตรีที่มีสายใช้ดีด เราเรียกตามบาลีและ สันสฤกว่า พีณ ต่อมาบัญญัติชื่อเรียกใหม่ตามรูปร่าง ตามวัสดุ หรือตามภาษาของชาตินั้นๆ เช่น กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะ และจะเข้ เป็นต้น

พิณน้ำเต้า
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่มีสายเดียวชนิดนี้เข้าใจว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายอยู่ในดินแดนแหลมอินโดจีก่อนแล้วขอมโบราณหรือเขมรรับช่วงไว้ก่อนที่ชาวไทยจะอพยพลงมาถึงที่เรียกพิณน้ำเต้าก็เพราะนำผลเปลือกน้ำเต้ามาทำเป็นกระพุ้ง ส่วนประกอบของพิณน้ำเต้ามีดังนี้
1. กะโหลก ทำด้วยผลเปลือกน้ำเต้า ตัดครึ่งลูก โดยเอาจุกหรือทางขั้วไว้ เจาะตรึงติดกับไม้คันพิณ ซึ่งเรียกว่า คันทวน
2. คันทวน ทำด้วยไม้ เหลาให้มีลักษณะกลมเรียวยาว หัวใหญ่ปลายโค้งงอ ยอดสุดกลึงเป็นรูป
3. เม็ด สำหรับผูกสาย ส่วนตอนหัวกลึงเป็นรูปเม็ด แต่ใหญ่กว่าตอนยอด เพื่อสวยงาม
4. ลูกบิดทำด้วยไม้กลมเรียวเล็กตอนหัวกลึงเป็นเม็ดประกอบลูกแก้วตอนปลายเรียวเล็ก เพื่อสอดใส่เข้าไปในคันทวน และให้ปลายโผล่เพื่อพันผูกสาย
5.รักดอกทำด้วยเชือกสำหรับโยงมัดสายกับคนทวนเหนือขั้วผลน้ำเต้าสูงพอประมาณเพื่อให้สายตึงได้เสียงที่ไพเราะสาย แต่เดิมใช้เส้นหวาย ต่อมาใช้สายไหม ปัจจุบันใช้สายทองเหลือง โดยพันผูกจากปลายลูกบิดไปยังปลายคันทวนที่โค้งงอ





อ้างอิง   เครื่องดนตรีประเภทดีด.มปป. เครื่องดนตรีประเภทดีด(ออนไลน์) สืบค้นจาก:  www.dusit.ac.th/department/music/music/thai/did.pdf      [20 พฤศจิกายน 2556 ]

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่องดนตรีประเภทสี

เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ
ซึ่งซอมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกันคือ 1. ซอด้วง 2. ซอสามสาย 3. ซออู้
1.สะล้อ
สะล้อ หรือซอล้อ หรือที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่า "ทรอ" หรือ"กร้อ" นั้น มีส่วนประกอบที่
ไม่สับซ้อน มีสาย 2หรือ3 สาย เป็นตัวกำเนิดเสียง และมีตัวกำธรทำด้วยมะพร้าว ส่วนประกอบอื่นๆ
ได้แก่ ด้าม หรือ คัน หลักสาย(ลูกบิด) และก๊อบ (หย่อง)
ด้ามสะล้อที่ดีตามทัศนะของของนักดนตรีและสล่า ควรเป็นไม้เนื้อแข็งจำพวกชิงชัน ไม้ประดู่
หรือไม้มะเกลือ แต่ไม้เหล่านี้ หายากและมีราคาสูงสล่าจึงใช้ไม้อย่างอื่น เช่น ไม้สัก ไม้ขนุน ไม้แดง
หรือไม้ยางทำ โดยทั่ว ๆไปด้ามมักมีลักษณะกลม ด้านที่มีลูกบิดมีขนาดโตกว่าด้านที่เสียบทะลุกะลา
มะพร้าว ยอดเหนือลูกบิดขึ้นไปสามารถกลึงเป็นหัวบัว หรือ สลักเป็นรูปต่างๆตามความประสงค์ได้
กะลามะพร้าวที่ใช้ทำกล่องกำธรเสียงนั้น จะตัดออกไม่เกิน 1/3 ของกะลาทั้งลูก ปิดที่เหลือด้วยแผ่นไม้
บางๆเรียงว่า "ตาด" ด้านหลังเจาะรูเสียง ซึ่งอาจเป็นรูลักษณะต่างๆ หรือมีลวดลายแกะสลักประกอบ
ด้วยกะลามะพร้าวนี้จะขูดให้บางและขัดให้ เรียบก่อนประกอบกับด้าม
สายสล้อในปัจจุปัน พบว่าทำด้วยสายกีต้าเป็นส่วนมาก นอกนั้นทำด้วยสายห้ามล้อรถ
จักรยานและสายไวโอลีน
ก๊อบ หรือ หย่อง ซึ่งวางรับสายอยู่บนตาดสล้อนั้น จะค่อนขึ้นมาทางขอบลน
ทั้งนี้เพื่อให้ตำแหน่งที่คันชักสัมผัสสายสล้อ อยู่ไม่ห่างเกินไปอันจะทำให้เสียงไม่มีพลังกังวาน
คันชักสล้อ มักทำด้วยไม้ไผ่เหลากับสายไนลอน ในอดีตนิยมใช้สายหางม้า แต่ปัจจุบันขนหางม้า
หายาก สล่าจึงใช้สายไนลอนแทนโดยมียางไม้จำพวกชัน เหนือยางสนใช้ถูสายคันชักให้มีความฝืด
การเล่น สะล้อ
2.  ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก



อ้างอิง  เครื่องดนตรีประเภทสี.มปป. เครื่องดนตรีไทยประเภทสี(ออนไลน์)  สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/psthaimusic/kheruxng-ti-1 [20 พฤศจิกายน 2556 ]
เครื่องดนตรีไทยประเภทตี
เครื่องตี เสียงดังออกมาและการกระทบกันมีด้วยกันหลายวิธีเช่นใช้มือตี ได้แก่ กลองแขก ตะโพนไทย ตัวเองกระทบกัน ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ ใช้ไม้ที่ทำเฉพาะตี ได้แก่ฆ้องวง โหม่ง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขิม ใช้การกระแทก ได้แก่ อังกะลุง
เครื่องตีแยกได้เป็น 3 ประเภทตามหน้าที่ในการเล่นคือ

1. เครื่องตีที่ทำจังหวะ หมายถึงเครื่องตีที่เมื่อตีแล้วจะเป็นเสียงที่คุมจังหวะการเล่นของเพลงนั้นๆ
ตลอดทั้งเพลงซึ่ง
ได้แก่ ฉิ่ง และ ฉับ ถือเป็นหัวใจของการบรรเลงด้วยเหตุที่ว่าเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะต้องยึดถือเอา
จังหวะเสียงของฉิ่งเป็นหลักในการเล่นเพื่อความพร้อมเพรียง

2. เครื่องตีที่ประกอบจังหวะ หมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะของฉิ่งและทำนอง
เพลงเพื่อให้เกิดความไพเราะสนุกสนานได้อรรถรสของบทเพลงมากขึ้นซึ่งก็มีหลายอย่างเช่น
กลองแขก กลองทัด ตะโพนไทย ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เปิงมางคอก
กลองตุ๊ก ฯลฯ โดยเครื่องตีในแต่ละชิ้นนี้จะมีท่าทางการเล่นที่แตกต่างกันและเสียงก็แตกต่างกัน

3. เครื่องตีที่ทำให้เกิดทำนอง หมายถึงเครื่องตีที่ใช้ตีแล้วเสียงที่ดังออกมาเป็นทำนองเพลงโดย
ตรงซึ่งก็ได้แก่ ฆ้องไทยวงใหญ่ ฆ้องไทยวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม ขิม อังกะลุง(บรรเลงเป็นวง)


อ้างอิง  เครื่องดนตรีประเภทตี.มปป. เครื่องดนตรีไทยประเภทตี(ออนไลน์)  สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/psthaimusic/kheruxng-si. [20 พฤศจิกายน 2556 ]